วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   ศาสนา  และวัฒนธรรม ๒
รหัสวิชา ส๓๑๑๐๑       ช่วงชั้นที่๓  (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑)        จำนวน ๑๒๐  ชั่วโมง

                            ศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนา    พุทธประวัติ   ประวัติพุทธสาวก  พุทธสาวิกา  และชาวพุทธตัวอย่าง  หลักธรรม   หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ   ศาสนพิธี     วิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา   ตลอดจนการสัมมนา พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนาเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานและได้แนวทางในกาปฏิบัติตนและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                    ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  ความสำคัญในการปฏิบัติตามสถานภาพ  สิทธิ  เสรีภาพ  และรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน   ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ   ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  รัฐ  ยึดมั่นศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพะมหากษัตริย์เป็นประมุข
ศึกษานิยามทางเศรษฐศาสตร์   ปัจจัยการผลิต  กระบวนการผลิตและการบริโภค   การพัฒนาเศรษฐกิจ     และการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตลอดจนระบบเศรษฐกิจของไทย   และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน  ซึ่งเน้นความสำคัญของแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง    ศึกษาความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของภูมิภาค  และตระหนักในคุณค่าของการน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและชีวิตประจำวัน
ศึกษาเกี่ยวกับช่วงสมัยและข้อมูลประวัติศาสตร์  พัฒนาการของมนุษย์ จากแหล่งอารยธรรมสำคัญในภูมิภาคเอเชีย   ตลอดจนศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย             ในด้านการเมืองการปกครอง    เศรษฐกิจ    สังคม   วัฒนธรรม   และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของไทยและความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียที่มีต่อสังคมไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
                            ศึกษาแผนที่    แผนภูมิ   กราฟ   ภาพถ่ายทางอากาศ  และระบบสารสนเทศ ในเรื่องที่ตั้งสัมพันธ์  ลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ   ทรัพยากรธรรมชาติ   การแบ่งภูมิภาค  ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน  กิจกรรมทางเศรษฐกิจ   ลักษณะทางวัฒนธรรม   สถานการณ์และปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย  วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม   ความเปลี่ยนแปลงของภาวะประชากรและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม  และเสนอแนวทางในการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนา
                           ศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย   คุณค่าความเป็นไทย  และเอกลักษณ์ไทย  เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทย  เพื่อให้รักการเรียนรู้สังคมศึกษา   ศาสนา   และวัฒนธรรม   มีวิจารณญาณ      รู้เท่าทันสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม    เศรษฐกิจ    การเมือง    รู้จักตนเอง  ภูมิใจในความเป็นไทย    รักชาติ   รักท้องถิ่น            มีค่านิยมที่ดีงาม   มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิงแวดล้อมอย่างยั่งยืน   ยึดหลักธรรมพระพุทธศาสนา   หรือศาสนาที่ตนนับถือเป็นหลักในการดำเนินชีวิต   มุ่งมั่นในการทำความดี   และสามารถนำหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ